แจ้งเกิดกับสถานทูตไทยในญี่ปุ่น ยุค COVID-19

Lifestyle10 ความเห็น บน แจ้งเกิดกับสถานทูตไทยในญี่ปุ่น ยุค COVID-19

แจ้งเกิดกับสถานทูตไทยในญี่ปุ่น ยุค COVID-19

ปี 2020 ก็ผ่านมาครึ่งปีแล้ว และก็เป็นครึ่งปีที่เกิดความเปลี่ยนแปลงบนโลกนี้มากมายจริงๆ เพราะก่อนคลอดลูกช่วงเมื่อต้นปี 2020 ตลอดไตรมาสสุดท้ายช่วงปลายปี 2019 ก่อนคลอดลูกก็พยายามหาข้อมูลเตรียมความพร้อมเรื่องการจัดการเอกสารของลูกทั้งหมดว่าต้องทำอะไรบ้าง ขั้นตอนเป็นอย่างไร ข้อจำกัดหรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับมีอะไรบ้าง เพราะลูกต้องมาเกิดที่ญี่ปุ่น นอกจากต้องแจ้งเกิดลูกที่เขตญี่ปุ่นภายใน 14 วันแล้ว ยังต้องทำเรื่องขอวีซ่าให้ลูกอีก ซึ่งต้องทำภายใน 30 วัน ดีที่ยังไม่จำเป็นต้องมีหนังสือเดินทาง ไม่งั้นคงจะไม่ทันแน่นอน เพราะโทรคุยกับสถานทูตไทย แจ้งว่าจะต้องแจ้งเกิดทำสูติบัตรก่อน ถึงจะทำหนังสือเดินทางได้ ซึ่งหนังสือเดินทางจะต้องใช้เวลาผลิตประมาณ 4 สัปดาห์

จากตอนแรกที่ตั้งใจว่าจะยื่นเอกสารและทำหนังสือเดินทางไว้ตั้งแต่เนิ่นๆเลย แต่ก็มาเจอโควิด เจ้าหน้าที่สถานทูตก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการและขั้นตอนการให้บริการ จากที่อาจจะสามารถทำเสร็จภายในวันเดียวที่สถานทูตก็อาจจะทำไม่ได้แล้ว จนกระทั่งมีประกาศให้สถานทูตออกเอกสารรับรองการบินเข้าไทย จนเป็นห้ามบินเข้าไทย ต้องเป็นเที่ยวบินที่สถานทูตจัดพิเศษต่างๆ ทำให้การติดต่อสถานทูตเพื่อทำธุรกรรมทั่วๆไปเป็นเรื่องยากขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายเลยตัดสินใจรอ เพราะว่าคลอดที่ต่างประเทศไม่มีกำหนดว่าจะต้องแจ้งเกิดภายในกี่วันจากที่สถานทูตโตเกียวไม่ต้องแปล 出生届記載事項証明書 ที่ออกโดยเขตญี่ปุ่นก็ต้องแปล และมีค่าใช้จ่ายเรื่องการรับรองการแปลขึ้นมาอีก และถ้าใครแปลเองไม่ได้ก็ต้องไปจ้างแปลกันต่ออีก ซึ่งทางสถานทูตแจ้งว่าสามารถแปลเองได้ แต่ถ้าจ้างแปลเท่าที่ทราบมาค่าใช้จ่ายประมาณ 10,000 เยนค่ะ

จนสุดท้ายเวลาก็ล่วงเลยมาถึงกลางปีเลยตัดสินใจติดต่อสถานทูตไป เพื่อที่จะเตรียมตัว เตรียมเอกสาร ลางานต่างๆ สถานทูตแจ้งว่า ออกสูติบัตรตอนนี้ใช้เวลา 1 สัปดาห์ และหลังจากที่คุยรายละเอียดกันทางอีเมลว่าเราไม่ได้อยู่โตเกียว เจ้าหน้าที่ตัดสินใจให้เตรียมเอกสารส่งมาให้พิจารณาออนไลน์ก่อน ถ้าผ่านอาจจะพิจารณารับเอกสารทางไปรษณีย์ เลยรีบออกไปขอเอกสารบันทึกการแจ้งเกิดจากเขต แล้วส่งไป MOFA ให้ประทับตรารับรองในวันรุ่งขึ้นเลย (ซึ่งเอกสารจะใช้แจ้งเกิด/ประทับตรารับรองได้จะต้องมีอายุไม่เกิน 3 เดือนนับจากที่เขตออกให้) เพราะถ้าได้สูติบัตรจะได้ทำหนังสือเดินทางได้ (ซึ่งต้องรอจองคิวอีก) รายการเอกสารเพื่อใช้แจ้งเกิดมีดังต่อไปนี้

เอกสารบิดาและมารดาไทย

  • คำร้องขอจดทะเบียนคนเกิด สามารถดาวน์โหลดได้จากทางเว็บไซต์ (แนะนำให้ใช้ชื่อคุณแม่เป็นคนแจ้งเกิด)
  • หนังสือเดินทาง
  • บัตรประจำตัวประชาชนไทย
  • ทะเบียนบ้านไทย
  • ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อหรือใบเปลี่ยนนามสกุล หากเคยเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลมาก่อน
  • ใบสำคัญการสมรส สำเนาทะเบียนสมรส หรือทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวสมรส (กรณีบิดามารดาสมรส)
  • ใบสำคัญการหย่า สำเนาทะเบียนหย่า หรือทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวหย่า (กรณีมารดาเคยหย่า)
  • บัตรประจำตัวคนต่างด้าว (ไซริวการ์ด)

อกสารบุตร

  • หนังสือรับรองการแจ้งเกิด หรือชุทโชโทโดเคะคิไซจิโคโชเมโช (出生届記載事項証明書) ออกโดยที่ว่าการอำเภอญี่ปุ่น หรือกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น ซึ่งผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นไม่เกิน 3 เดือน
  • คำแปลภาษาไทยของหนังสือรับรองการเกิด (ชุทโชโทโดเกะคิซาอิจิโคโชเมโช) พร้อมค่าธรรมเนียมในการรับรองเอกสาร ในข้อ 1. และข้อ 2. จำนวน 4,000 เยน (ตัวอย่างคำแปลหนังสือรับรองการเกิด)
  • รูปถ่าย ถ่ายรวมกัน 3 คน และเห็นหน้าทุกคนชัดเจน 1 รูป
  • หากเคยแจ้งเกิดบุตรที่สถานเอกอัครราชทูตฯ แล้วก่อนหน้านี้ กรุณาส่งสำเนาสูติบัตรของบุตรคนก่อนมาด้วย

*** ข้อควรระวัง***

บางทีเจ้าหน้าที่เขตจะไม่คุ้นกับเอกสารที่ชื่อว่า “出生届記載事項証明書” (จริงๆมันคือใบแจ้งเกิดที่เราได้จาก รพ. แล้วเรากรอกไปแจ้งเกิดที่เขตนั่นแหละ แต่เป็นฉบับถ่ายสำเนา พร้อมประทับตรารับรองจากเขต) แล้วออกเอกสารชื่อ “受理証明証” มาให้แทน เพราะปกติราชการญี่ปุ่นใช้เอกสารตัวนี้ยื่น (เช่น เอาไปยื่นทำ 在留カード บัตรไซริว) ซึ่งเป็นแค่เอกสารรับรองว่ามาแจ้งเกิดแล้ว บอกรายละเอียดแค่ชื่อพ่อแม่ บุตร สัญชาติ วันเกิด วันที่มาแจ้งเกิด สถานที่แจ้งเกิด ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับใช้ออกสูติบัตรของไทยนะคะ ***

((เจ้าหน้าที่ออกมาให้ผิด 2 รอบเลย รอบแรกไม่รู้ตัว เพราะทำเอกสารเยอะ แล้วคิดว่าไม่น่าผิด จนมาอ่านรายละเอียดอีกที โทรไปถามเขต เจ้าหน้าที่ในโทรศัพท์ก็บอกว่าคนละใบกัน ต้องไปขอใหม่ ไปขอรอบสองก็ยังออกมาผิดอีก แต่รอบนี้รู้แล้วว่าผิด 😅😅😅 บอกเจ้าหน้าที่เลย เลยได้ใบที่ถูกมาในวันเดียวกัน))

ตัวอย่างหน้าตาของ “出生届記載事項証明書

รายละเอียดการยื่นเอกสารให้ MOFA ประทับตรารับรองติดต่อที่โตเกียวหรือส่งไปรษณีย์ (แนะนำให้อ่านในเว็ปไซต์ เนื่องด้วยสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ทาง MOFA อาจจะปรับเปลี่ยนวิธีการรับเอกสารได้)
Japanese: https://www.mofa.go.jp/mofaj/toko/page22_000608.html
English: https://www.mofa.go.jp/ca/cs/page22e_000420.html

เอกสารที่ต้องส่งไปพร้อมกับเอกสารที่ต้องการให้ประทับตรารับรอง

  • The official document to be certified (original document issued within three months) เอกสารฉบับจริงที่ต้องการให้ประทับตรา อายุไม่เกิน 3 เดือน
  • Application form (authentication or apostille) แบบฟอร์มยื่นคำร้อง กรอกเป็นภาษาอังกฤษได้
  • สำเนาเอกสารแสดงตัวตน เช่น 在留カード หรือ หนังสือเดินทาง ของผู้ยื่น/เจ้าของเอกสาร
  • Stamped, self-addressed envelope, or Letter Pack ซองติดสแตมป์จ่าหน้าซองถึงตัวเอง

Address

Headquarters of the Ministry of Foreign Affairs (Tokyo)
Ministry of Foreign Affairs South Building 1 F
Kasumigaseki 2-2-1, Chiyoda-ku, Tokyo 100-8919
Certification Section, Center for Consular Services, Consular Affairs Bureau, Ministry of Foreign Affairs
〒100-8919 東京都千代田区霞が関2-2-1 外務省南庁舎1階
外務省 領事局領事サービスセンター 証明班
Tel: 03-3580-3311 (Main number)
You will reach an operator when you dial the main number. Please tell the operator to transfer to extension 2308.
Monday to Friday (except holidays)
9:00-12:30, 13:30-17:00

พอเตรียมเอกสารพร้อมส่งให้เจ้าหน้าที่สถานทูตพิจารณา จดทะเบียนถูกต้อง เอกสารพร้อม เจ้าหน้าที่โอเครับทางไปรษณีย์ ก็ส่งไปสถานทูตเลย แล้วก็รอรับสูติบัตรลูกที่บ้านได้เลย โดยสถานทูตจะส่งมาแบบ 着払い จ่ายค่าส่งปลายทาง ซึ่งพอกลับไทยแล้วต้องไปแจ้งเข้าทะเบียนบ้านที่ไทยอีกรอบ ถึงจะเสร็จสมบูรณ์ แต่สูติบัตรนี้ใช้ทำหนังสือเดินทางเล่มแรกให้ลูกใช้เดินทางได้ในลำดับถัดไป

Timeline เพื่อเป็น guideline

June 15, 2020

เริ่มต้น

เมลคุยกับสถานทูต ไปเขตขอเอกสารชื่อ 出生届記載事項証明書

June 15, 2020
June 16, 2020

เตรียมเอกสาร

ส่ง 出生届記載事項証明書 ให้ MOFA รับรอง

June 16, 2020
June 17, 2020

เตรียมเอกสาร

เริ่มเตรียมเอกสารประกอบอื่นๆ ใบคำร้อง แปลใบแจ้งเกิด

June 17, 2020
June 23, 2020

ตรวจสอบเอกสาร

ได้รับเอกสารรับรองจาก MOFA แล้วรวบรวมส่งเอกสารทั้งหมดให้สถานทูตพิจารณาทางเมล (ถ้าเอกสารมีปัญหาอาจจะใช้เวลานานกว่านี้ ควรเผื่อเวลาด้วยหากเอกสารตีกลับ คือต้องเริ่มต้นส่งใหม่)

June 23, 2020
June 25, 2020

แก้ไขเอกสาร

สถานทูตติดต่อกลับ แก้ไขเอกสารบางส่วน

June 25, 2020
June 27, 2020

ส่งเอกสาร

ส่งเอกสารตัวจริงที่แก้ไขเรียบร้อยแล้วให้สถานทูตทางไปรษณีย์

June 27, 2020
June 29, 2020

รอรับเอกสาร

สถานทูตได้รับเอกสาร และส่งสูติบัตรกลับมา

June 29, 2020
June 30, 2020

เสร็จสมบูรณ์

ได้รับสูติบัตรทางไปรษณีย์ ให้ตรวจสอบความถูกต้อง (ไม่ต้องลงชื่อใดๆเพิ่มในสูติบัตร)

June 30, 2020
มันส์ต้องแชร์
สาวอักษรเอกจีน พูดเกาหลีที่ถนัดงาน event แต่สุดท้ายกลายมาเป็นแม่บ้านเลี้ยงลูกอยู่ที่ญี่ปุ่น

10 thoughts on “แจ้งเกิดกับสถานทูตไทยในญี่ปุ่น ยุค COVID-19

  1. มันคือใบที่โรงพยาบาลกรอกมาให้ตอนคลอดแล้วให้เรามากรอกเพิ่มเพื่อไปยื่นที่เขตค่ะ
    คือขอใบนั้นเค้าจะทำสำเนาและประทับตรามาให้ค่ะ

    ใบใหญ่ๆขนาดประมาณ A3 พอนึกออกไหมคะ

    เลื่อนขึ้นไปดูหน้าตาได้ในบทความนะคะ

  2. รบกวนสอบถามค่ะ ถ้าทำแบบนี้คือกรณีพิเศษหรอคะ ที่ส่งไปทำทางไปรษณี เพราะเห็นมีให้จองคิวไปทำเรื่อง ลงทะเบียนไม่ทัน กำลังรอเดือนหน้า ลูกเกิดตั้งแต่มกราคมละค่ะ ถ้าอยากทำแบบส่งไปรษณีต้องติดต่อที่เมลไหนคะ หรือต้องโทรไปคุยก่อนคะ
    เรื่องแปล อันนี้แปลแบบไหนคะ แบบตามตัวอย่างเค้าเลยไหมคะ ไม่ต้องเป็นตารางแบบต้นฉบับใช่ไหมคะ กลัวไม่ผ่าน
    รบกวนแนะนำด้วยค่ะ

  3. ที่ส่งทางไปรษณีย์ได้คือเจ้าหน้าที่แจ้งให้ส่งไปรษณีย์หลังจากขอตรวจเอกสารแล้วค่ะ

    แต่คาดว่าปีนี้ 2021 น่าจะมีปรับระบบอีก ให้ลงทะเบียนจัดคิวก่อน (เจ้าหน้าที่อาจจะงานโหลดมากจนรับเมลไม่ไหว) แนะนำให้ทำตามที่สถานทูตออกระเบียบการมานะคะ

    ส่วนเอกสารแปล แปลตามตัวอย่างที่สถานทูตให้มาเลยค่ะ (ในลิงค์ก็เป็นของสถานทูตค่ะ) ไม่ต้องแก้ไขรูปแบบให้ตรงกับใบญี่ปุ่นค่ะ

  4. สวัสดีค่ะ เรารบกวนสอบถามเรื่องส่ง 出生届記載事項証明書 ไปประทับตราที่ MOFA ค่ะ
    1. ตอนเราส่งเอกสารไป เราต้องติดต่อ MOFA ก่อนหรือเปล่าคะ? หรือส่งเอกสารตามที่กำหนดผ่าน 郵送 ได้เลย
    2. เอกสารที่ต้องยื่นมี 委任状 ด้วยหรือเปล่าคะ? (พอดีเราคิดว่าต้องใช้ แต่แฟนบอกว่าไม่จำเป็นค่ะ)
    3. มีค่าดำเนินการขอตราประทับที่ MOFA หรือเปล่าคะ?
    4. ซองเอกสารที่ให้ 返送 แนะนำเป็น 封筒 (切手貼付) หรือ レターパック ดีคะ? (แต่เราไม่มีไอเดียเลยว่าต้องติดแสตมป์ไปเท่าไหร่ หรือถ้าเลือก レターパックแล้วจะจ่ายค่าส่งยังไง ;_;) หรือถ้าส่งเป็น ゆうパック แบบ 着払い จะปลอดภัยเรื่องค่าส่งที่สุด?

    ขออภัยที่สอบถามเยอะค่ะ ขอบคุณค่ะ m(_ _)m

  5. ขออภัยในความไม่ละเอียดค่ะ คำถามข้อที่ 2 เราได้คำตอบแล้ว
    พอดีเราอ่านพลาดเอง ก็คือ พ่อ/แม่ ลูก ถ้ายื่นเอกสารแทน ไม่จำเป็นต้องใช้ 委任状
    ส่วนข้อที่ 1, 3, 4 หาก คุณ Avetsada สะดวก เรายังขอรบกวนเช่นเดิมค่ะ
    ขอบคุณและขออภัยในความผิดพลาดอีกครั้งค่ะ

  6. 1. ไม่ต้องติดต่อก่อนค่ะ
    2.เป็นพ่อแม่ ไม่ต้องมอบอำนาจค่ะ 【委任状を省略できる例】当事者(=証明を必要としている方)が未成年で親権者が申請する場合 (มีรายละเอียดในเวปไซต์ของกระทรวงค่ะ)
    3.ไม่มีค่ะ “ 窓口申請、郵便申請いずれも手数料は無料です。” (สามารถอ่านเพิ่มเติมในเวปไซต์ของกระทรวงค่ะ)
    4.แนะนำให้ไปส่งที่ไปรษณีย์ค่ะ เจ้าหน้าที่จะแนะนำได้ดีที่สุด ตอนที่ไปส่งเจ้าหน้าที่บอกว่าแค่ซองติดแสตมป์ก็ได้ ราคาสแตมป์เจ้าหน้าที่ก็เป็นคนแนะนำให้ค่ะ ถ้าเอาสะดวกก็ Letter Pack ทำเองที่ コンビニ ได้เลยค่ะ

  7. ขออภัยที่ตอบช้าค่ะ
    ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ
    ช่วยได้เยอะมากๆเลยค่ะ m(_ _)m
    ตอนนี้ก็เตรียมเอกสารวนไป 5555

  8. สวัสดีค่ะ พอดีอยากแจ้งเกิดลูก
    รบกวนขอเมล์ที่ใช้ติดต่อกับสถานทูตได้ไหมคะ พอดีหาแล้วไม่เจอข้อมูลค่ะ
    ขอบคุณมากนะคะ

    1. [email protected] อีเมลล์ที่ใช้ติดต่อเข้าไปตอนนั้นค่ะ แต่ไม่แน่ใจว่าตอนนี้เปลี่ยนเมลล์ไปรึยังนะคะ ช่วงโควิดสถานทูตเปลี่ยนเมลล์ติดต่อไปหลายอันเลยค่ะ

      เข้าใจว่าช่วงนี้อาจจะไม่ได้รับทางอีเมลล์แล้วนะคะ เพราะเห็นว่าให้ลงทะเบียนออนไลน์เพื่อขอเข้ารับบริการ ยังไงติดต่อสถานทูตโดยตรงเพื่อสอบถามข้อมูลจะดีที่สุดค่ะ (ตอนที่จะทำก็โทรติดต่อไปถามอยู่หลายรอบค่ะ)
      https://site.thaiembassy.jp/th/contact/consular.php

      https://site.thaiembassy.jp/th/services/legalization/9707/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back To Top